Contact us
 


                       

css buttons by Css3Menu.com

           
Pause Play
 
ผลประโยชน์โครงการ
 
 

แหล่งแร่โพแทชในจังหวัดอุดรธานี ถือเป็นแหล่งแร่โพแทชคุณภาพสูงที่ได้มีการสำรวจ ศึกษา และให้ความรู้กับประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งบริษัทฯ ก็มีความพร้อมทั้งทางด้านเงินทุน บุคลากร และเทคโนโลยี หากสามารถพัฒนาโครงการนี้ได้สำเร็จ จะเกิดประโยชน์ต่อ
การพัฒนาประเทศไทย


 
 

ผลประโยชน์ต่อการพัฒนาระดับชาติ
      1.เสริมสร้างรากฐานที่มั่นคงและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเกษตรกรไทย ให้สามารถแข่งขันได้ดีขึ้นในตลาดโลก เนื่องจากสามารถเพิ่มผลผลิต
โดยลดต้นทุนในการเพาะปลูกจากการใช้ปุ๋ยโพแทสเซียมในราคาที่ถูกกว่าการนำเข้า และมีปริมาณเพียงพอต่อการใช้ในประเทศ

      2.การส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมผลิตแม่ปุ๋ยโพแทสเซียมจะเป็นการพัฒนทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ
ประเทศไทย ให้เกิด มูลค่าเพิ่มซึ่งทำให้เกิดอุตสาหกรรมที่สามารถกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค เกิดการจ้างงาน สสร้างรายได้แก่ประชาชน
ในพื้นที่ทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการผลกระทบ ทวีคูณ (Multiplier Effect) ต่อระบบเศรษฐกิจซึ่งได้มีการศึกษาว่าโครงการเหมืองแร่ขนาดใหญ่
จะสามารถสร้างงานทางอ้อมได้ 5 เท่าจากอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง กันกับการทำเหมืองและจากการใช้จ่ายของพนักงานของเหมือง (IFC, 2001) จากผลการศึกษาดังกล่าว สามารถนำมาประยุกต์กับโครงการได้ คือ โครงการจะก่อให้เกิดการจ้างงาน (ระยะยาว)โดยตรงกว่า 900 อัตรา
และส่งผลต่อการจ้างงานทางอ้อมกว่า 4,500 อัตรา

    3.ผลผลิตปุ๋ยโพแทสเซียมส่วนที่เหลือจากการจำหน่ายแก่เกษตรกรในประเทศ ยังจะสามารถส่งออกสู่ตลาดโลกเพื่อสร้างรายได้แก่ประเทศ
แทนที่การสูญเสียเงินตราต่างประเทศ โดยสามารถลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศ จากการนำเข้าแร่โพแทชปีละประมาณ 7,000 ล้านบาท
และมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการส่งออกแร่โพแทชปีละประมาณ 18,000 ล้านบาท (คำนวณจากราคาโพแทชตันละ 400 เหรียญสหรัฐฯ และอัตรา
แลกเปลี่ยน 30 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ)

   4.รายได้ภาครัฐที่เพิ่มขึ้นกว่า 29,500 ล้านบาท ที่จะเกิดขึ้นตลอดอายุโครงการ มาจากเงินโบนัสเมื่อได้รับประทานบัตร ผลประโยชน์พิเศษเพื่อ
ประโยชน์แห่งรัฐ จากการทำเหมือง ค่าภาคหลวง เงินทุนการศึกษา นอกจากนี้ ยังมีรายได้มาจากการจัดเก็บจากระบบภาษีตามประมวลรัษฎากร
เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต เป็นต้น ค่าภาคหลวง เงินปันผลในส่วนที่รัฐบาลถือหุ้น (สัดส่วนการถือครองหุ้นร้อยละ 10)

ผลประโยชน์ต่อการพัฒนาระดับจังหวัด
     1.เงินค่าภาคหลวงจำนวนร้อยละ 20 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 5,710 ล้านบาท จะถูกจัดสรรให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เพื่อใช้ใน
การพัฒนาจังหวัดอุดรธานีในด้านต่างๆ เช่น โครงสร้างพื้นฐานของประชาชนในจังหวัด รวมถึงการสื่อสาร ถนน ทางรถไฟ เป็นต้น และอีกร้อยละ 10 สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดอุดรธานีที่ไม่ได้อยู่ในเขตพื้นที่ประทานบัตร ซึ่งคิดเป็นเงินประมาณ 2,855 ล้านบาท

     2.การใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากโครงการและพนักงานโดยผ่านธุรกิจต่างๆ ในจังหวัดอุดรธานีในช่วง 22 ปี ของการผลิตแร่โพแทชนี้แสดงให้เห็น
ถึงศักยภาพที่สำคัญสำหรับธุรกิจ ในจังหวัดที่จะมีการขยายช่วงของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตและ/หรือให้บริการสำหรับทั้งโครงการและภาคส่วนอื่นๆ ของเศรษฐกิจ

ผลประโยชน์ต่อการพัฒนาระดับชุมชน


1.เงินค่าภาคหลวงจำนวนร้อยละ 20 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 5,710 ล้านบาท จะถูกจัดสรรให้กับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ทั้ง 5 แห่ง โดยแบ่งให้แต่ละแห่งในสัดส่วน เท่าๆ กัน ประมาณแห่งละ 1,142 ล้านบาทตลอดอายุโครงการ เพื่อใช้ในการพัฒนาชุมชนในตำบลนั้นให้มี
ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

2.การจ้างงานที่เกิดจากโครงการจะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญในชุมชนใกล้เคียงโดยการเพิ่มระดับความสามารถของประชาชนและการอัดฉีด
เงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นผ่านรายได้ของพนักงาน รายได้ของธุรกิจที่ดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับเหมือง และกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องกับการ
ให้บริการซึ่งมีโอกาสในการสร้างรายได้ที่มีศักยภาพมากจึงจะเป็นการช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้มีการเติบโต

3.โครงการได้มีการจัดสรรผลประโยชน์ให้กับชุมชนในรูปแบบของกองทุนต่างๆ เพื่อใช้ในการติดตามตรวจสอบ เพื่อการชดเชย และเป็นการส่งเสริม
เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน ดังต่อไปนี้

เพื่อการติดตามตรวจสอบ
-  กองทุนเพื่อการสนับสนุนการร่วมตรวจสอบของตัวแทนผู้มีส่วนได้เสีย (ประมาณ 50 ล้านบาท) เพื่อสนับสนุนโครงการร่วมตรวจสอบของ
ประชาชนภายหลังจากได้รับประทานบัตร

- กองทุนเฝ้าระวังสุขภาพ (100 ล้านบาท) เพื่อจัดสรรเงินงบประมาณให้กับหมู่บ้านในเขตพื้นที่โครงการ และพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบด้าน
สิ่งแวดล้อมสำหรับนำไปใช้ในการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ที่อาจเกิดจากการดำเนินงานของโครงการทั้งในระยะก่อสร้าง

และระยะดำเนินการทำเหมือง

- กองทุนพัฒนาหมู่บ้านรอบพื้นที่เหมืองแร่ (300 ล้านบาท) เพื่อจัดสรรเงินทุนในการติดตามและตรวจสอบการดำเนินงานของโครงการ
ติดตามผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงกิจกรรมมวลชนสัมพันธ์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความรู้ต่างๆเกี่ยวกับโครงการที่ถูกต้อง

เพื่อการชดเชย
-  การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้แก่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินในพื้นที่ประทานบัตร (1,200 ล้านบาท) เพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ในรูปตัวเงินของ
โครงการให้กับผู้เป็นเจ้ากรรมสิทธิ์ที่ดินในพื้นที่ประทานบัตร

- เงินช่วยเหลือครัวเรือนในเขตพื้นที่ประทานบัตร (1,040 ล้านบาท) เพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ในรูปตัวเงินของโครงการ ให้กับผู้อยู่อาศัย
แต่ละครัวเรือนในเขตพื้นที่ประทานบัตร

- กองทุนประกันความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน (100ล้านบาทเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
ที่เกิดจากการทำ เหมืองแร่โพแทช ใช้เป็นเงินสำรองจ่ายให้กับประชาชนผู้ประสบภัยจากการทำเหมืองในเขตประทานบัตร ในกรณีที่บริษัทประกันภัย
จ่ายเงินค่าเสียหายล่าช้า หรือยังอยู่ ระหว่างการประเมินค่าเสียหายและตรวจสอบข้อเท็จจริง และในกรณีที่ไม่เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
จะนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ดูแลความ เป็นอยู่ของประชาชน ในพื้นที่ใกล้เคียงโครงการ

เพื่อการส่งเสริมประโยชน์ให้กับชุมชน


- ทุนการศึกษาเพื่ออนาคตเยาวชน (60 ล้านบาท) เพื่อจัดสรรเงินทุนแก่เยาวชน สร้างโอกาสทางการศึกษา ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์ และเป็นการ ยกระดับคุณภาพชีวิตของเยาวชนซึ่งถือว่าเป็น อนาคตของจังหวัดอุดรธานี

-กองทุนช่วยเหลือค่าปุ๋ยเกษตรกรในพื้นที่ประทานบัตร (100 ล้านบาท) เพื่อจัดสรรเงิน สำหรับเป็นหลักประกันว่าเกษตรกรในเขตพื้นที่ประทานบัตร
จะได้ใช้ปุ๋ยในราคาถูกกว่าท้องตลาด โดยการจ่ายคืนหรือให้ส่วนลดกับเกษตรกรในเขตพื้นที่ประทานบัตรที่ซื้อปุ๋ย เพื่อการเพาะปลูก

-กองทุนสวัสดิการชุมชน (200 ล้านบาท) เพื่อจัดสรรเงินในการนำไปสนับสนุนและพัฒนาชุมชนในจังหวัดอุดรธานี

     โครงการเหมืองแร่โพแทช จังหวัดอุดรธานี จะส่งผลต่อชุมชนท้องถิ่น ภูมิภาค และประเทศไทยโดยรวมอย่าง มีนัยสำคัญจากการช่วยลดความ
ยากจนและสร้างรายได้จากการจ้างงานทั้งทางตรงและทางอ้อม การฝึกอบรมการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีก่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของบุคคล
การพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมและการพัฒนาชุมชน ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีขึ้นรวมถึงการ
พัฒนาเศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากการขยายตัวของเศรษฐกิจแบบทวีคูณอันเนื่องมาจากการพัฒนาโครงการสู่อุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และของประเทศชาติจากการเพิ่มดุลการค้าโดยลดการนำเข้าแร่โพแทช
และเพิ่มการส่งออกแร่โพแทช รวมถึงรายได้ภาครัฐที่เพิ่ม
จากระบบภาษีต่างๆส่งผลให้มีการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศชาติ