|
การมีส่วนร่วมของประชาชน / Public Participation
|
|
|
|
|
การมีส่วนร่วมของประชาชน คืออะไร
กระบวนการซึ่งประชาชน หรือผู้มีส่วนได้เสียได้มีโอกาสแสดงทัศนะ แลกเปลี่ยนข้อมูล และความคิดเห็น เพื่อแสวงหาทางเลือก และการตัดสินใจต่างๆ เกี่ยวกับโครงการที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับร่วมกัน ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงควรเข้าร่วมในกระบวนการนี้
ตั้งแต่เริ่ม จนกระทั่งถึงการติดตามและประเมินผล เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และการรับรู้ เรียนรู้ การปรับเปลี่ยนโครงการร่วมกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย
|
|
|
|
|
|
รูปแบบการมีส่วนร่วม
1) การให้ข้อมูลแก่ประชาชน เช่น การจัดทำเอกสารข้อเท็จจริง จดหมายข่าว รายงานการศึกษา การจัดทำสื่อวีดีทัศน์ การจัดตั้งศูนย์ข้อมูล การจัดทัศนศึกษาการชี้แจงข้อมูลในการประชุมของทางการ การสื่อสารกับประชาชนผ่านสื่อ
มวลชนในรูปแบบต่างๆ เช่น วิทยุ การแถลงข่าว การจัดสัมมนาวิชาการให้กับสื่อมวลชน
2) การรับฟังความคิดเห็น เช่น การสัมภาษณ์รายบุคคล การสนทนากลุ่มย่อย การแสดงความคิดเห็นผ่านเว็ปไซต์ การสำรวจความคิดเห็น สายด่วนสายตรง ประชาพิจารณ์
3) การปรึกษาหารือ เช่น เวทีสาธารณะ การพบปะประชาชนแบบไม่เป็นทางการ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดตั้ง
คณะที่ปรึกษา (ตัวแทนจากผู้มีส่วนได้เสีย/ชุมชน/ผู้เชี่ยวชาญ/ภาครัฐ)
(แหล่งข้อมูล: คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน ของศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี)
|
|
|
|
|
|
กิจกรรมการมีส่วนร่วมของชาวอุดรในโครงการอุดรโพแทช
การให้ข้อมูลแก่ประชาชน
- เอกสารข้อเท็จจริง
- จดหมายข่าว
- การจัดทำสื่อวีดีทัศน์
- การจัดตั้งศูนย์ข้อมูล
- การจัดทัศนศึกษา
- การชี้แจงข้อมูลในการประชุมของทางการ
- การสื่อสารกับประชาชนผ่านสื่อมวลชนในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ และวิทยุ
|
|
|
การรับฟังความคิดเห็น
- การสนทนากลุ่มย่อย
- การสำรวจความคิดเห็น
|
|
|
กระบวนการมีส่วนร่วมตามขั้นตอนการขอประทานบัตรของโครงการอุดรโพแทช
- เวทีให้ความรู้และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อนการรังวัดขึ้นรูปแผนที่เหมือง
- การตรวจสอบผลการรังวัดขึ้นรูปแผนที่
- การมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยผ่านกระบวนการ
จัดเวทีสาธารณะเพื่อรับฟังความคิดเห็นจำนวน 3 ครั้งเพื่อนำความเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆไปศึกษา
และประเมินผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่งจะนำไปสู่มาตรการป้องกัน
แก้ไขและลดผลกระทบดังกล่าว ตลอดจนกระบวนการติดตามตรวจสอบ
- จัดตั้งกองทุนสนับสนุนโครงการศึกษาวิจัยของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในโครงการทำเหมืองใต้ดิน เพื่อทำการ
ศึกษาวิจัยข้อกังวลหรือประเด็นที่ยังเป็นข้อสงสัยในรายงานการวิเคราะห์ผลกระสิ่งแวดล้อม
- กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียเพื่อเสนอแนะความคิดเห็นและมาตรการป้องกันต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดเงื่อนไขแนบท้านประทานบัตรต่อไป
- การประชุมตัวแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อกำหนดบุคคลผู้มีสิทธิตรวจสอบการทำเหมือง
- การติดตามตรวจสอบการดำเนินโครงการโดยผ่านทางตัวแทนผู้ส่วนได้เสีย
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|